SOCIAL CONTRIBUTIONS

กลยุทธ์ Vertical Integration กับประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจ 
(Part 2 of 2)

_______________________________________________________________

By NATEE SRISOMTHAVIL

UpdatedMay 31th, 2017 

บทความฉบับที่แล้วผมได้อธิบายถึงกลยุทธ์ Vertical Integration เบื่องต้น ในบทความฉบับนี้ผมจะมาลงลึกถึงประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรคำนึงก่อนที่จะทำ Vertical Integration โดยได้ List ออกมาเป็น 7 ประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ครับ 

 

1. จำนวนกิจการในแนวดิ่งที่อยู่ติดกับกิจการของเรา (Number of vertically adjacent firms)

    กิจการในแนวดิ่งที่อยู่ติดกับกิจการของเรา หมายถึงกิจการที่เราต้องติดต่อเจรจาด้วยโดยตรง อย่างเช่น Supplier ผักปลอดสารของธุรกิจผักสลัด และร้านกาแฟรับซื้อผักสลัดไปขาย ยิ่งมีจำนวนกิจการในแนวดิ่งที่อยู่ติดกับกิจการของเราน้อยเท่าไหร่ ยิ่งควรทำ Vertical Integration สาเหตุนั้นมาจากอำนาจการต่อรอง นึกภาพง่ายๆ นะครับ ยิ่งมีจำนวน Supplier ที่ส่งของให้เราน้อยเท่าไหร่ อำนาจการต่อรองของเราก็จะน้องลงเท่านั้น เนื่องจากหาก Supplier เกิดขึ้นราคากะทันหัน ยังไงเราก็ต้องซื้อ เพราะไม่มีทางเลือก และก็เป็นตรรกะเดียวที่ใช้วิเคราะธุรกิจปลายน้ำ ถ้าจำนวนกิจการที่ต้องการผลิตภัณฑ์ของเรามีน้อย เราก็จะมีอำนาจการต่อรองกับกิจการเหล่านั้นน้อยลงเช่นกัน

 

2. จำเป็นต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์จำเพาะหรือไม่ (Requirement of asset-specific investment)

    สินทรัพย์จำเพาะ หมายถึงสินทรัพย์ที่ใช้สำหรับกิจการของเราเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจผักสลัดของเราต้องใช้อุปกรณ์ปลูกผักชนิดพิเศษ และอุปกรณ์ดังกล่าวใช้ปลูกผักเพื่อส่งเราเจ้าเดียวเท่านั้น หากต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์จำเพาะมากเท่าไหร่ ก็ควรทำ Vertical Integration มากเท่านั้น เหตุผลก็มาจากอำนาจการต่อรองอีกเช่นเดียวกันครับ

 

3. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ระหว่างคู่ค้า (The uncertainty of the transaction between the parties)

     ความไม่แน่นอนที่กล่าวมานั้นหมายถึงปัจจัยอย่างเช่น ต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี ความต้องการของวัตถุดิบ เป็นต้น ยิ่งมีความไม่แน่นอนสูงเท่าไหร่ ยิ่งควรทำ Vertical Integration

 

4. ความคลายคลึงกันของความต้องการเชิงกลยุทธ์ระหว่างสองกิจการ (Strategical similarity of the two stages)

    ความคลายคลึงกันของความต้องการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง ประเด็นอย่างเช่น Resource and Capability หรือ Key Success Factor หากทั้งสองกิจการมีความต้องการเชิงกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันมากเท่าไหรื ก็ยิ่งควรทำ Vertical Integration มากขึ้นเท่านั้น

 

5. ความจำเป็นในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง (The need for continuous investment)

กิจการบางประเภทจำเป็นต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพให้ทัดเทียมกับตลาด หากกิจการที่ท่านกำลังจะควบรวมเป็นเช่นนั้น ก็ควรใช้ Outsourcing ดีกว่า

 

6. ความต้องการความยืดหยุ่นทางธุรกิจ (The need for flexibility)

    หากกิจการของท่านต้องการความยืดหยุ่น อย่างเช่นต้องเปลี่ยนชนิดของวัตถุดิบบ่อย เปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจบ่อย ก็ไม่ควรทำ Vertical Integration

 

7. ควาทมไม่แน่นอนของตลาด (Market Uncertainty) 


    หากปริมาณความต้องการของตลาดมีความผันผวนสูงและคาดดำได้ยาก ก็ไม่ควรที่จำทำ Vertical Integration เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและควาทเสี่ยงอย่างไม่คุมค่าครับ

 

    และนี่ก็เป็น 7 ประเด็นหลักๆ ที่เราควรคำนึงก่อนที่จะตัดสินใจทำ Vertical Integration หวังว่าบทความบทนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านในการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ท่านผู้อ่านสามารถติดตามบทความต่อๆ ไปของเราได้จาก www.bangkokinnovationhouse.com และ Bangkok Innovation House Fanpage ครับ


ที่มา


By Bangkok Innovation House Team