SOCIAL CONTRIBUTION

กลยุทธ์ Vertical Integration กับประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจ (Part 1 of 2)

_______________________________________________________________

By NATEE SRISONTHAVIL

Updated May 27th, 2017 

       ปัจจุบัน การแข่งขันทางธุรกิจมีความเข้มข้นมากจนนักธุรกิจหลายๆ ท่านเริ่มหันหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจของตัวเองเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สภาวะการแข่งขันที่กล่าวมานี้ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น แม้แต่ธุรกิจ ​Startup เองก็ต้องเจอแรงกดดันจากคู่แข่งที่มากไม่แพ้กัน 

       หนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายๆ ธุรกิจเลือกใช้เพื่อผลักดันประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตขององค์กรก็คือ ​Vertical Integration หรือ กลยุทธ์การควบรวมกิจการแนวดิ่ง ความหมายของ Vertical Integration จริงๆ แล้วก็คือการควบรวมกิจการต้นน้ำและ/หรือปลายน้ำ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการซื้อกิจการของ Supplier และ/หรือ ลูกค้ามาเป็นของตัวเอง

       ยกตัวอย่างเช่น หากท่านผู้อ่านเป็นเจ้าของ Startup สลัดผักปลอดสารพิษและจำเป็นต้องสั่งผักปลอดสารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ กิจการที่ส่งผักให้ท่านก็จะถือเป็น Supplier ที่อยู่ต้นน้ำของ Supply Chain หรือบ่วงโซ่อุปทาน หากวันนึงท่านมีการซื้อกิจการ หรือสร้างกิจการปลูกผักปลอดสารเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบของธุรกิจสลัด ก็จะถือเป็นการทำ Vertical Integration ในลักษณะ Backward Integration ซึ่งก็คือการควบรวมกิจการต้นน้ำ

       การทำ Vertical Integration สามารถทำได้ทั้ง Backward Integration และ Forward Integration กลับไปที่ตัวอย่างธุรกิจสลัดผัก หากธุรกิจสลัดผักของท่านปกติผลิตส่งร้านกาแฟ ร้านกาแฟเหล่านั้นจะถือเป็นธุรกิจปลายน้ำใน Supply Chain ของท่าน และหากท่านตัดสินใจเลิกส่งร้านกาแฟของคนอื่น และหันมาเปิดสลัดบาร์เพื่อจำหน่ายสลัดเอง ก็จะถือเป็นการทำ Vertical Integration ในลักษณะ Forward Integration

       สาระสำคัญก็คือ เมื่อไหร่ควรทำ Vertical Integration และเมื่อไหร่ควร Outsource ซึ่งผมขอมาอธิบายในต่อในหน้าถึดไปตามลิ้งค์นี้ครับ 

http://www.bangkokinnovationhouse.com/index.php/en/inno-aday-vertical-integration-2


By Bangkok Innovation House Team