Inno aday


โรคขาดมือถือเหมือนขาดใจที่พบใน Millennials

_____________________________________________________________________

By CHONNIKARN TRIYOS

Updated September 6th, 2017 

เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการตื่นตระหนกเมื่อแบตเตอรี่มือถือใกล้จะหมด! มิหนำซ้ำยังไม่มีที่ชาร์จ! หรือเมื่อพบว่าตัวเองลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน!


การกลัวการขาดมือถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โนโมโฟเบีย (Nomophobia) ที่มาจากคำว่า "No Mobile Phone Phobia" มักพบมากในคน Gen Y และ Z หรือ “Millennials” ที่ปัจจุบันคือคนที่มีช่วงอายุระหว่างประมาณ 16-36 ปี อาการของคนที่เป็นโรคนี้คือจะกลัวการไม่มีมือถืออยู่กับตัว เนื่องจากปัจจุบันนี้มือถือเปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ของชีวิตเรากันไปเสียแล้ว


นักวิจัยจาก City University of Hong Kong และ Sungkyunkwan University ประเทศเกาหลี พบว่านอกจากผลวิจัยเก่าที่เชื่อมโนโมโฟเบียกับแนวโน้มที่จะต้องมีมือถือไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา ความวิตกกังวล การขาดความสามารถในการสื่อสาร และความกลัวที่จะตกกระแสแล้วนั้น ยังมีผลวิจัยใหม่อีกที่กล่าวว่าเจ้าของมือถือที่มีข้อมูลส่วนตัวมากมายอยู่ในนั้น ก็จะยิ่งทำให้ติดมือถือเข้าไปใหญ่ ทั้งภาพ ข้อความ และข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่อง


คุณมีอาการเหล่านี้อยู่ไหม?

ผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถได้รับการรักษาได้โดยวิธีการเปิดรับ/การสัมผัสกับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy) เป็นวิธีเดียวกับการรักษาโรควิตกกังวลทั้งหลาย ที่ผู้เป็นจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ตนเองกลัว การที่เราลดการใช้มือถือลง ก็จะช่วยสอนให้เราค่อย ๆ คุ้นเคยกับช่วงเวลาที่ต้องอยู่แบบออฟไลน์ได้


Millennials เป็นลุ่มคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดและมีแนวโน้มสูงว่าจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะคนรุ่นนี้ใช้ Social Media มากกว่าคนรุ่นอื่น ซึ่งนำไปสู่ความวิตกกังวลที่สูงกว่าคนรุ่นอื่น ๆ ตามไปด้วย


เราควรที่จะตัดขาดจากชีวิตในโลกอินเตอร์เน็ตบ้างเป็นบางครั้งบางคราว และใช้เวลากับตัวเองในการจัดลำดับความสำคัญกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตบ้าง นอกจากจะดีต่อสุขภาพจิตของเราและลดความกังวลได้แล้ว ยังช่วยให้เราขยันทำอย่างอื่นให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นอีกด้วย


ที่มา: https://www.weforum.org, http://www.bangkokhealth.com

By Bangkok Innovation House Team